• Hotline: 087-984-2273

พักกลางวันไม่เป็นเวลาใช้งานเครื่องสแกนลายนิ้วมือได้ไหม

บ่อยครั้งที่แอดมินมักได้รับคำถามที่ว่า จะสามารถใช้งานเครื่องสแกนลายนิ้วมือหรือเครื่องสแกนใบหน้าได้หรือไม่หากต้องการให้พนักงานบันทึกเวลาสแกนเข้าและออกจำนวน 4 ครั้งต่อวัน คือ สแกนครั้งแรกตอนเข้างานช่วงเช้า สแกนครั้งที่สองตอนออกงานตอนเที่ยง สแกนครั้งที่สามตอนเข้างานช่วงบ่าย และสแกนครั้งที่สี่ตอนออกงานตอนเย็น หากต้องการแบบนี้จะสามารถทำได้หรือไม่?" แต่เมื่อแอดมินเจาะลึกเข้าไปในประเด็นคำถามการบันทึกเวลาทั้ง 4 ครั้งกลับพบว่าลูกค้าไม่สามารถกำหนดเวลาตายตัวให้พนักงานที่ออกไปพักกลางวันได้ ลักษณะงานจะเป็นการหมุนเวียนกันออกไปพัก ซึ่งกำหนดไว้เพียงแค่สามารถพักกลางวันได้ 1 ชั่วโมง จะเข้าและออกเวลาไหนก็ได้แต่ต้องอยู่ในระยะเวลา 1 ชั่วโมงนั้น คำถามคือ เครื่องสแกนลายนิ้วมือหรือเครื่องสแกนใบหน้ารองรับความต้องการนี้ได้หรือไม่? 

และก่อนจะไปตอบคำถามว่าทำได้หรือทำไม่ได้แอดมินขออธิบายรูปแบบการทำงานของเครื่องสแกนลายนิ้วมือและเครื่องสแกนใบหน้าก่อน เพื่อให้ลูกค้าเข้าใจรูปแบบการทำงานของระบบได้มากขึ้น โดยการทำงานของเครื่องสแกนลายนิ้วมือหรือเครื่องสแกนใบหน้าจะเป็นรูปแบบตายตัว คือ เราจะต้องระบุได้ว่าเวลาเข้างานเวลาออกงานเป็นเวลาไหน เพื่อให้โปรแกรมสามารถคำนวณชั่วโมงทำงาน คำนวณเวลาสาย ระบุว่าพนักงานขาดงานหรือไม่ พนักงานไม่สแกนเข้าไม่สแกนออก รวมถึงคำนวณโอที ซึ่งการคำนวณข้อมูลทั้งหมดที่แอดมินแจ้งไปจะต้องมาจากข้อกำหนดการค่าครั้งแรกคือ เวลาทำงานที่เรากำหนดค่าไว้นั้นเอง

ถามว่าทำตามที่ลูกค้าต้องการได้ไหม? แอดมินตอบได้เลยว่า "ทำได้ แต่อาจไม่ทั้งหมด" กล่าวคือ ลูกค้ามีเวลาเข้าและออกงานที่ชัดเจนตายตัว แต่เวลาพักกลางวันไม่ตายตัว ปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์และความเหมาะสม ดังนั้นเราจะต้องปรับรูปแบบการใช้งานตามเนื้องานที่ได้รับคือ 

1. ให้เรากำหนดกะการทำงานเป็นสแกน 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกให้กำหนดช่วงเวลาที่สแกนเข้างาน และครั้งที่สองให้กำหนดช่วงเวลาที่สแกนออกงาน เวลาพักกลางวันก็ให้พนักงานสแกนปกติ แต่กำหนดให้โปรแกรมคำนวณเวลาเพียงแค่การเข้างานและออกงานเท่านั้น ซึ่งโปรแกรมก็จะคำนวณเวลาเข้างาน ขาดงาน มาสาย ให้ตามที่เราระบุเวลาเข้าและออกงาน (แต่จะไม่คำนวณเวลาออกงานและเข้างานช่วงพักเที่ยง ว่าใช้ระยะเวลา 1 ชั่วโมงหรือไม่?)
2. ให้พนักงานสแกนพักเที่ยงตามปกติ แต่ให้เราเข้าไปดูรายงาน "ข้อมูลดูแบบง่าย" แทน เพื่อตรวจดูว่าพนักงานได้ออกไปพักและกลับเข้ามาทำงานในระยะเวลา 1 ชั่วโมงตามที่กำหนดไว้หรือไม่? (เมนูรายงานข้อมูลดูแบบง่ายจะไม่คำนวณเวลาให้ เราจะต้องตรวจดูแลคำนวณเวลาเอง)

ความต้องการดังกล่าวสามารถตอบโจทย์ได้แต่ต้องยอมรับว่าเครื่องสแกนลายนิ้วมือหรือเครื่องสแกนใบหน้าอาจไม่รองรับแบบ 100% เพราะเป็นข้อจำกัดของระบบเนื่องจากลูกค้าไม่สามารถกำหนดเวลาในการเข้าและออกงานแต่ละช่วงได้ ทำให้โปรแกรมไม่มีหลักในการคิดคำนวณ เมื่อไม่มีหลักให้คำนวณโปรแกรมจึงคำนวณออกมาไม่ได้นั้นเอง
www.charoentech.com

เครื่องสแกนควบคุมประตู

2024-04-25 21:14:42

เมื่อพูดถึงระบบควบคุมประตูเรามักนึกถึงการใช้เครื่องสแกนลายนิ้วมือหรือเครื่องสแกนใบหน้าหรือเครื่องทาบบัตรเพื่อสั่งเปิดประตู สแกนผ่านสามารถเปิดประตูได้ สแกนไม่ผ่านประตูไม่เปิดให้ แอดมินพบว่ามีเพียงลูกค้าไม่กี่รายที่ทราบว่าระบบควบคุมประตูประกอบไปด้วยอุปกรณ์อะไรบ้าง อุปกรณ์ชิ้นไหนจำเป็นอุปกรณ์ชิ้นไหนไม่จำเป็น และเพื่อให้ลูกค้าทราบถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบกัน

การจัดการทะเบียนรถในระบบอ่านป้ายทะเบียน

2024-04-24 21:17:20

ระบบไม้กั้นอ่านป้ายทะเบียนเป็นระบบที่เลือกการทำงานได้ 2 แบบคือ ทำงานเองแบบ stand alone (ไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์) และแบบใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผล ลูกค้าที่มีสมาชิกน้อยกว่าความสามารถในการเก็บทะเบียนรถของระบบสามารถใช้งานแบบ stand alone ได้ เช่น กล้องอ่านป้ายทะเบียน zkteco รุ่น lprc300 รองรับ 1,000 ทะเบียน หากโครงการมีสมาชิกน้อยกว่า 1,000 ทะเบียน

LPR Controller ในระบบอ่านป้ายทะเบียน

2024-04-21 21:07:43

ระบบไม้กั้นอ่านป้ายทะเบียนหรือระบบอ่านป้ายทะเบียน LPR เป็นระบบที่สามารถทำงานได้ 2 แบบคือ (1) ใช้กล้องอ่านป้ายทะเบียนประมวลผลสิทธิ์ของป้ายทะเบียนสมาชิกเอง (2) ใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผลสิทธิ์ของป้ายทะเบียนสมาชิก การทำงานที่เหมือนกันของทั้ง 2 แบบคือ สมาชิกสามารถผ่านเข้าออกผ่านระบบไม้กั้นรถยนต์ได้อัตโนมัติ แต่ส่วนที่ต่างกันคือ การใช้กล้องอ่านป้ายทะเบียน