• Hotline: 087-984-2273

ระบบส่งเสียงตอบรับของเครื่องสแกนลายนิ้วมือ

ด้วยเครื่องสแกนลายนิ้วมือและเครื่องสแกนใบหน้าเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับบันทึกเวลาและรองรับการควบคุมการเปิดปิดประตู (ทำงานร่วมกับชุดกลอนไฟฟ้า) จึงทำให้เครื่องสแกนถูกออกแบบให้มีการแสดงผล 2 รูปแบบด้วยกัน (ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล) คือ (1) แสดงผลด้วยภาพที่หน้าจอ (2) แสดงผลด้วยเสียง ซึ่งมีทั้งแบบเสียงพูดและเสียง buzzer หรือเสียง "ตี๊ด-แป๊ก-กรี๊ง" โดยเครื่องสแกนลายนิ้วมือและเครื่องสแกนใบหน้าจะแสดงข้อความหรือเสียงแจ้งสถานะการทำงานก็ต่อเมื่อได้รับคำสั่งเท่านั้น เช่น เมื่อเราสแกนลายนิ้วมือหรือสแกนใบหน้าหรือทาบบัตรหรือกดรหัสผ่าน เครื่องสแกนจะเสียงแจ้งเตือนว่าการดำเนินการดังกล่าวมีผลลัพธ์เป็นอย่างไร? หรือเมื่อเรากดปุ่มเมนูเครื่องสแกนก็จะส่งเสียง "ตี๊ด" แจ้งเตือนให้ทราบว่ามีการกดปุ่ม เป็นต้น และเพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานเข้าใจระบบการส่งเสียงแจ้งเตือนของเครื่องสแกนลายนิ้วมือและเครื่องสแกนใบหน้ามากขึ้นแอดมินอธิบายเพิ่มเติมได้ดังนี้

เครื่องสแกนลายนิ้วมือและเครื่องสแกนใบหน้าส่งเสียงแจ้งเตือนได้ 2 ลักษณะคือ
(1) แจ้งเตือนด้วยเสียงพูด เสียงพูดเป็นเสียงที่ถูกบันทึกไว้ในเครื่องสแกน เมื่อเราดำเนินการตามระบบเครื่องสแกนก็จะส่งเสียงแจ้งสถานะการดำเนินการดังกล่าวให้เราทราบ เช่น เราสแกนลายนิ้วมือแล้วเครื่องสแกนสงเสียงตอบรับว่า "บันทึกสำเร็จค่ะ" เป็นต้น และเพื่อให้ผู้ใช้งานเข้าใจการทำงานของเสียงพูดแจ้งเตือนแต่ละรูปแบบแอดมินอธิบายเพิ่มเติมได้ดังนี้
- เสียงแจ้งสถานะ "บันทึกสำเร็จค่ะ" จะส่งเสียงตอบรับเมื่อการสแกนนิ้วหรือสแกนหน้าครั้งนั้นๆ สำเร็จ
- เสียงแจ้งสถานะ "ลองใหม่อีกครั้งค่ะ" จะส่งเสียงตอบรับเมื่อเครื่องสแกนไม่สามารถเปรียบเทียบลายนิ้วมือหรือใบหน้าในฐานข้อมูลได้
- เสียงแจ้งสถานะ "เข้างานได้ค่ะ" จะส่งเสียงตอบรับเมื่อมีการสแกนซ้ำหลังจากการสแกนครั้งแรกภายในระยะเวลาหน่วง เช่น หน่วงเวลาสแกนซ้ำ 1 นาที เมื่อเครื่องสแกนส่งเสียงตอบรับบันทึกสำเร็จค่ะและเรายังสแกนนิ้วหรือสแกนหน้าต่อเครื่องสแกนจะส่งเสียง "เข้างานได้ค่ะ" แทน การส่งเสียงแจ้งเตือนนี้เป็นการแจ้งเตือนเพื่อบอกให้รู้ว่าเครื่องสแกนได้บันทึกเวลาให้เราแล้ว
- เสียงแจ้งสถานะ "บันทึกแล้วค่ะ" เป็นการทำงานรูปแบบเดียวกับเสียงแจ้งสถานะ "เข้างานได้ค่ะ" 

(2) เสียง buzzer หรือเสียงตี๊ด-แป๊ก-กรี๊ง เป็นอีกหนึงชนิดเสียงแจ้งเตือนเพื่อบอกสถานะการทำงานของเครื่องสแกน โดยเสียง buzzer จะส่งเสียงแทบเหมือนกันทุกรูปแบบการแจ้งเตือน เช่น
- เสียงปุ่มกด เมื่อเรากดปุ่มกดที่เครื่องสแกนลายนิ้วมือหรือเครื่องสแกนใบหน้า เสียง buzzer ก็จะดัง "ตี๊ด" 
- เสียงเครื่องสแกนตอบรับการอ่านลายนิ้วมือ เครื่องสแกนจะส่งเสียง "แป๊ก" ที่ดังขึ้นตอนเราวางลายนิ้วมือที่หัวอ่านลายนิ้วมือ
- เสียงแจ้งบันทึกเวลาเต็ม เมื่อบันทึกเวลาเต็มเครื่องสแกนจะส่งเสียง "ตี๊ด" ตอนพนักงานสแกนพร้อมแสดงข้อความ GLog error ที่หน้าจอ เครื่องสแกนบางรุ่นหากบันทึกเวลาเต็มจะส่งเสียง "ตี๊ด" ตลอดเวลา
- เสียงแจ้งเตือนเครื่องสแกนถูกงัดแง๊ะ temper alert บางรุ่นจะส่งเสียง ตี๊ดดดด บางรุ่นจะส่งเสียง กริ้งงงง และเสียงนี้จะมีเฉพาะในเครื่องสแกนลายนิ้วมือและเครื่องสแกนใบหน้าระบบ access control เท่านั้น
- เสียงแจ้งเตือน "กริ้งงง" เป็นเสียงแจ้งเตือนบันทึก เราสามารถตั้งเวลาให้เครื่องสแกนส่งเสียงนี้ได้ 24 ช่วงเวลา

จะเห็นได้ว่าการแจ้งเตือนของเครื่องสแกนลายนิ้วมือและเครื่องสแกนใบหน้ามีหลากหลายรูปแบบ แต่ละชนิดของเสียงจะบอกสถานะการทำงานที่ต่างกัน การทำความเข้าใจเสียงตอบรับของเครื่องสแกนจะช่วยให้เราใช้งานเครื่องสแกนได้ง่ายขึ้น
www.charoentech.com

เครื่องสแกนควบคุมประตู

2024-04-25 21:14:42

เมื่อพูดถึงระบบควบคุมประตูเรามักนึกถึงการใช้เครื่องสแกนลายนิ้วมือหรือเครื่องสแกนใบหน้าหรือเครื่องทาบบัตรเพื่อสั่งเปิดประตู สแกนผ่านสามารถเปิดประตูได้ สแกนไม่ผ่านประตูไม่เปิดให้ แอดมินพบว่ามีเพียงลูกค้าไม่กี่รายที่ทราบว่าระบบควบคุมประตูประกอบไปด้วยอุปกรณ์อะไรบ้าง อุปกรณ์ชิ้นไหนจำเป็นอุปกรณ์ชิ้นไหนไม่จำเป็น และเพื่อให้ลูกค้าทราบถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบกัน

การจัดการทะเบียนรถในระบบอ่านป้ายทะเบียน

2024-04-24 21:17:20

ระบบไม้กั้นอ่านป้ายทะเบียนเป็นระบบที่เลือกการทำงานได้ 2 แบบคือ ทำงานเองแบบ stand alone (ไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์) และแบบใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผล ลูกค้าที่มีสมาชิกน้อยกว่าความสามารถในการเก็บทะเบียนรถของระบบสามารถใช้งานแบบ stand alone ได้ เช่น กล้องอ่านป้ายทะเบียน zkteco รุ่น lprc300 รองรับ 1,000 ทะเบียน หากโครงการมีสมาชิกน้อยกว่า 1,000 ทะเบียน

LPR Controller ในระบบอ่านป้ายทะเบียน

2024-04-21 21:07:43

ระบบไม้กั้นอ่านป้ายทะเบียนหรือระบบอ่านป้ายทะเบียน LPR เป็นระบบที่สามารถทำงานได้ 2 แบบคือ (1) ใช้กล้องอ่านป้ายทะเบียนประมวลผลสิทธิ์ของป้ายทะเบียนสมาชิกเอง (2) ใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผลสิทธิ์ของป้ายทะเบียนสมาชิก การทำงานที่เหมือนกันของทั้ง 2 แบบคือ สมาชิกสามารถผ่านเข้าออกผ่านระบบไม้กั้นรถยนต์ได้อัตโนมัติ แต่ส่วนที่ต่างกันคือ การใช้กล้องอ่านป้ายทะเบียน