• Hotline: 087-984-2273

one card บัตรผ่านหนึ่งใบใช้ได้ทั้งระบบไม้กั้นรถยนต์และระบบควบคุมประตูอาคาร

แอดมินพบว่ามีหลายหน้างานที่ต้องการใช้บัตรผ่านในระบบไม้กั้นรถยนต์และระบบควบคุมการเปิดปิดประตูสั่งงานด้วยเครื่องสแกนลายนิ้วมือและเครื่องสแกนใบหน้าร่วมกัน เมื่อความต้องการของลูกค้าคือทั้ง 2 ระบบจะต้องรองรับการใช้บัตรผ่านเพียงใบเดียว ลูกค้าจะได้ใช้บัตรผ่านใบนั้นเป็นบัตรพนักงานด้วยถามว่าทำได้หรือไม่? ดังนั้นเรื่องราวครั้งนี้เรามาทำความเข้าใจกันว่าหากต้องการใช้บัตรผ่านร่วมกันระหว่างระบบไม้กั้นรถยนต์และระบบควบคุมการเปิดปิดประตูซึ่งควบคุมสั่งการด้วยเครื่องสแกนลายนิ้วมือและเครื่องสแกนใบหน้า จะต้องเลือกอย่างไร? บัตรผ่านแบบไหนใช้ร่วมด้วยได้แบบไหนใช้ร่วมด้วยไม่ได้? ข้อจำกัดคืออะไร? เรามาทำความเข้าใจกันในบทความนี้

ก่อนอื่นเราต้องมาเรียนรู้กันก่อนว่าในระบบไม้กั้นรถยนต์และระบบของเครื่องสแกนลายนิ้วมือและเครื่องสแกนใบหน้ารองรับการใช้งานร่วมกับบัตรผ่านชนิดใดได้บ้าง? โดยในตลาดมีบัตรผ่านที่นำมาใช้งานร่วมกับทั้ง 2 ระบบอยู่ 4 ชนิดคือ (1) บัตรผ่านระยะไกลใช้คลื่นสัญญาณบลูทูธคลื่น 433mhz หรือที่เราเรียกกันว่าบัตร easy pass (2) บัตรผ่านระยะใกล้คลื่น RFID 125kzh (3) บัตรผ่านระยะใกล้มากๆ คลื่น Mifare 13.56mhz (4) บัตรผ่าน RFID UHF คลื่น 900 กว่าๆ แต่ ณ ตอนนี้แอดมินทราบข่าวว่าบัตรผ่านชนิด UHF มีผลต่อคลื่นโทรศัพท์มือถือทางโรงงานยกเลิกการนำเข้ามาจำหน่ายชั่วคราว ดังนั้นที่ใช้งานกันจริงๆ จึงมีเพียง 3 ชนิดบัตรผ่าน

เรามาเรียนรู้กันต่อว่าในระบบไม้กั้นรถยนต์และครื่องสแกนลายนิ้วมือหรือเครื่องสแกนใบหน้ารองรับบัตรผ่านคลื่นสัญญาณแบบไหนได้บ้าง?
1. ระบบไม้กั้นรถยนต์รองรับการใช้บัตรผ่านได้ทั้งหมด จะใช้บัตรบลูทูธ คลื่น 433mhz ก็ได้ (บัตรชนิดนี้ให้ระยะอ่านบัตร 20 เมตรโดยประมาณ) หรือจะใช้กับบัตร RFID 125khz ก็ได้ (บัตรชนิดนี้ให้ระยะอ่านบัตรตั้งแต่ 10cm-100cm ขึ้นอยู่กับรุ่นของเครื่องอ่านและบัตรผ่านที่นำมาใช้งาน) หรือจะใช้กับบัตร Mifare 13.56mhz ก็ได้ (บัตรชนิดนี้ให้ระยะอ่านบัตรเพียง 3-5cm เท่านั้น) หรือจะเป็นบัตร UHF ก็สามารถใช้ร่วมด้วยได้เช่นกัน (บัตร UHF ระงับจำหน่ายชั่วคราวเนื่องจากมีปัญหาเรื่องคลื่นสัญญาณ)
2. ระบบของเครื่องสแกนลายนิ้วมือและเครื่องสแกนใบหน้ารองรับการใช้งานร่วมกับบัตรผ่านได้เพียง 2 ชนิดเท่านั้นได้แก่ บัตร RFID คลื่น 125kzh และบัตร Mifare คลื่น 13.56mhz 
ดังนั้นเราจึงเห็นได้ว่าหากต้องการใช้งานบัตรผ่านร่วมกันระหว่างระบบไม้กั้นรถยนต์และระบบควบคุมประตูซึ่งใช้เครื่องสแกนลายนิ้วมือและเครื่องสแกนใบหน้าเป็นตัวสั่งการจะรองรับบัตรผ่านได้เพียง 2 ชนิด คือ บัตร RFID 125khz และบัตร Mifare 13.56mhz (บัตร 2 ชนิดนี้ใช้งานร่วมได้ทั้งระบบไม้กั้นรถยนต์และเครื่องสแกนลายนิ้วมือและเครื่องสแกนใบหน้า)

tips : ระบบไม้กั้นรถยนต์แบบทาบบัตร รองรับการใช้งานร่วมกับบัตรผ่านคลื่น rfid 125khz สามารถใช้บัตรผ่านดังกล่าวร่วมกับเครื่องสแกนลายนิ้วมือและเครื่องสแกนใบหน้าได้ สนใจสินค้าเข้าไปดูในหมวดสินค้า "ไม้กั้นรถยนต์"

เมื่อทราบความสามารถในการรองรับบัตรผ่านของทั้ง 2 ระบบแล้วจึงเป็นหน้าที่ของลูกค้าที่จะต้องตัดสินใจว่าต้องการให้ระบบไม้กั้นรถยนต์อ่านบัตรได้ไกลๆ แบบ easy pass เพียงขับเข้ามาในระยะอ่านบัตรระบบจะทำงานทันทีไม่ต้องจอดรถเพื่อทาบบัตรแต่ไม่สามารถใช้บัตรใบเดียวกับการผ่านเข้าออกประตูได้ หรือจะเลือกใช้บัตรผ่านเพียงหนึ่งใบสามารถผ่านได้ทั้งระบบไม้กั้นรถยนต์และเครื่องสแกนลายนิ้วมือหรือเครื่องสแกนใบหน้าที่ติดตั้งไว้เพื่อควบคุมการเปิดปิดประตูกันแน่? 

สำหรับลูกค้าที่ต้องการให้เราเข้าวางระบบงานไม้กั้นรถยนต์และระบบควบคุมการเปิดปิดประตูให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ได้เลย เราพร้อมให้บริการ
www.charoentech.com

การจัดการทะเบียนรถในระบบอ่านป้ายทะเบียน

2024-04-24 21:17:20

ระบบไม้กั้นอ่านป้ายทะเบียนเป็นระบบที่เลือกการทำงานได้ 2 แบบคือ ทำงานเองแบบ stand alone (ไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์) และแบบใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผล ลูกค้าที่มีสมาชิกน้อยกว่าความสามารถในการเก็บทะเบียนรถของระบบสามารถใช้งานแบบ stand alone ได้ เช่น กล้องอ่านป้ายทะเบียน zkteco รุ่น lprc300 รองรับ 1,000 ทะเบียน หากโครงการมีสมาชิกน้อยกว่า 1,000 ทะเบียน

LPR Controller ในระบบอ่านป้ายทะเบียน

2024-04-21 21:07:43

ระบบไม้กั้นอ่านป้ายทะเบียนหรือระบบอ่านป้ายทะเบียน LPR เป็นระบบที่สามารถทำงานได้ 2 แบบคือ (1) ใช้กล้องอ่านป้ายทะเบียนประมวลผลสิทธิ์ของป้ายทะเบียนสมาชิกเอง (2) ใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผลสิทธิ์ของป้ายทะเบียนสมาชิก การทำงานที่เหมือนกันของทั้ง 2 แบบคือ สมาชิกสามารถผ่านเข้าออกผ่านระบบไม้กั้นรถยนต์ได้อัตโนมัติ แต่ส่วนที่ต่างกันคือ การใช้กล้องอ่านป้ายทะเบียน

การแสดงผลตอบกลับของไม้กั้นอ่านป้ายทะเบียน

2024-04-19 14:09:39

การแสดงผลตอบกลับในระบบไม้กั้นรถยนต์มีทั้งแบบแสดงผลได้ในตัว หมายถึง ชุดอุปกรณ์มาตรฐานในระบบสามารถแสดงผลตอบกลับได้เลย เช่น ป้าย LED แสดงผลทะเบียนรถในระบบอ่านป้ายทะเบียน และการเพิ่มอุปกรณ์แสดงผลกรณีที่ไม้กั้นรถยนต์บางรุ่นไม่สามารถแสดงผลตอบกลับให้ผู้ใช้งานทราบได้เราสามารถเพิ่มอุปกรณ์แสดงผลเข้าไปทำงานร่วมได้ เช่น สัญญาณไฟเขียวไฟแดง